Let’s Sprout มาเพาะงอกกันเถอะ

sprouting make easy photocredit: facebook.com
sprouting make easy photocredit: facebook.com

จริงๆแล้วในบ้านเราการทำ sprouting ก็มีมาแต่นมนานแล้วหล่ะค่ะ แต่ว่าหลายคนไม่ค่อยได้ให้ความสำคัญกันมากเพราะเห็นว่ามันเป็นสิ่งที่ทำกันอย่างดาษดื่น ก็เอาง่ายๆค่ะ ถั่วงอก ก็เป็นหนึ่งในกรรมวิธีการ sprouting เหมือนกัน และหลังๆมาก็เริ่มมาฮิตข้าวกล้องงอกกันยกใหญ่ กลายเป็นว่ามีสินค้าหลากหลายที่ออกมาจัดจำหน่ายโดยเอากรรมวิธีการเพาะงอก หรือ sprouting มาเป็นจุดขาย

เริ่มสงสัยกันบ้างมั้ยหล่ะค่ะว่าจริงๆแล้ว sprouting มันคืออะไรยังไง แล้วมีประโยชน์กันแน่หรือไม่ ลองมาอ่านบทความนี้กันดูดีกว่าค่ะ

Sprouting หรือการเพาะงอก เป็นการนำเอาเมล็ดพืชที่สมบูรณ์ไปเพาะโดยใช้น้ำและอากาศเป็นตัวกลางในการเริ่งปฏิกิริยาของเอนไซม์ ส่งผลให้เกิดการเจริญเติบโตของพืชพันธุ์นั้นๆ เพื่อที่จะกลายมาเป็นต้นกล้าต่อไป แต่การเพาะงอกเพื่อการบริโภคนั้นเป็นการเพาะที่เน้นกระทั่งเห็นต้นอ่อนของพืชเริ่มงอกเท่านั่นก่อนจะทำมารับประทาน โดยเมล็ดพันธุ์แต่ละชนิดจะใช้เวลาเพาะที่แตกต่างกันไป บ้างก็ 2-3 วัน บ้างก็ 1 อาทิตย์ บ้าง ทั้งนี้ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวน้ำจะเป็นตัวทำให้เมล์ดอ่อนลง ส่งผลให้เอ็นไซม์เร่งปฏิกิรยาทางเคมี และนำเอาสารอาหารที่สะสมอยู่ในเมล็ดออกมาใช้ ดังนั้นจึงถือได้ว่าการเพาะงอกเป็นการทำให้เมล็ดกลายมาเป็นสิ่งมีชีวิตอีกครั้งหนึ่งคะ

เพราะเหตุนี้เองการบริโภคพื้ชเพาะงอกจึงให้สารอาหารในปริมาณสูงกว่าพืชทั่วๆไปคะ

ประโยชน์ของการบริโภคธัญพืชเพาะงอก

1) ให้เอนไซม์สูง ผู้เขี่่ยวขาญหลายท่านประเมินว่าเอนไซม์ที่อยู่ในพืชเพาะงอกมีปริมาณมากกว่าผักผลไม้สดทั่วไปถึง 100 เท่า เอนไซม์หรือโปรตีนที่ทำหน้าที่เร่งปฏิกิริยาทางเคมีต่างๆในร่างกาย จึงทำให้ร่างกายสามารถรับเอาสารอาหารต่างๆจากอาหาร ตั้งแต่ วิตามิน แร่ธาตุ โปรตีน ไขมัน เข้าไปได้ในปริมาณที่มากขี้น

2) คุณภาพของโปรตีนจากถั่ว เมล์ดธัญญาพืช ต่างๆจะสูงขี้นเมื่อได้รับการเพาะงอก ในระหว่างที่แช่เมล์ดธัญญาหารในน้ำ โปรตีนจะถูกเปลี่ยนให้ไปอยู่ในรูปแบบที่สามารถย่อยได้ง่ายขี้น ด้วยเหตุนี้ร่างกายจึงจะได้รับโปรตีนและ amino acid ที่มีประโยชน์เพิ่มขี้นอีกด้วย

3) กากใยที่อยู่ในเมล็ดธัญญาพืช มีปริมาณเพิ่มขี้นอย่างมากหลังจากผ่านการเพาะงอก ทั้งนี้นอกจากไฟเบอร์หรือกากใยอาหารจะเป็นตัวช่วยในการลดความอ้วนแล้ว ยังเป็นตัวที่ช่วยกันไม่ใหร่างกายดูดซึมเอาสารพิษและไขมันต่างๆผ่านเข้าไปทางลำไส้อีกด้วย

4) ปริมาณของวิตามินในธัญพืชหลังจากทำการเพาะงอกมีปริมาณเพิ่มขี้นอย่างมาก โดยเฉพาะวิตามิน A, B-Complex, C และ E ซึ่งในธัญพืชบางชนิดพบว่ามีวิตามินเพิ่มขี้นถึง 20% หลังจากทำการเพาะงอกเพียงไม่กี่วันเท่าน้น

5) กรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกายมีปริมาณสูงขึ้น หลังจากการเพาะงอก ในปัจจุบัน หลายๆคนขาดแคลนกรดไขมันที่จำเป็น (เช่น EPA, DHA, GLA, ALA เป็นต้น)เนื่องจากไม่พบอยู่ในอาหารที่เราทานกันทั่วไป ฉะนั้นแล้วธัญพืชเพราะงอกจึงเป็นแหล่งสารอาหารโดยเฉพาะกรดไขมันจำเป็น ที่ดีอีกแหล่งหนึ่ง

6) ระหว่างการเพาะงอกแร่ธาติต่างๆจะถูกเชื่อมให้ติดกับโปรตีนในธัญพืช ทำให้ร่างกายสามารถย่อย และดูดซึมเข้าทางลำไส้ได้มากขี้น โดยเฉพาะแร่ธาติที่เป็นด่างต่างๆ เช่น Calcium หรือ Magnesium

7) ธัญพืชเพาะงอกเป็นอาหารที่สามาถทำเองได้ที่บ้าน นั่นก็คือว่าเราะจะสามารถแน่ใจได้ว่ามันไม่มีสารแต่งสี แต่งกิ่น หรือสารเคมี ที่เป็นอันตรายต่างๆ เจือปนมาด้วยอย่างแน่นอน

8) พลังชีวิตจากธัญพืชเหล่านี้จะได้รับการเร่งให้มีเพิ่มขี้นจากการเพาะงอกดังกล่าว

9) ธัญพืชเพาะงอกจะเพิ่มความเป็นด่างให้กับร่างกาย ทำให้ร่างกายมีสภาวะที่เป็นกรดน้อยลง และ มีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งลดลงด้วย

10) การเพาะงอกธัญพืชสามารถทำได้เองที่บ้านในราคาที่ย่อมเยาว์ หลายๆครั้งเรามักมีข้ออ้างที่จะหลีกเลี่ยงหาหารสุขภาพด้วยคำว่าแพง แต่การการทำธัญพืชเพาะงอกที่บ้านสามารถทำได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายให้สิ้นเปลืองมากนัก ฉะนั้นแล้ว ราคา จึงไม่ใช่เหตุผลที่เราจะไม่ทำการเพาะงอกทานเองที่บ้าน

เอาหละค่ะ เล่ามากันถึงตรงนี้แล้ว ได้เวลาเริ่มเพาะงอกันแล้วซิค่ะ คราวหน้าเรามาติดตามดูกันดีกว่าค่ะว่าเราจะเริ่มทำการเพาะงอกง่ายๆที่บ้านได้อย่างไรบ้าง 🙂 ไว้ติดตามอ่านกันดูนะคะ ตอนนี้ก็เอาภาพการเพาะงอกสวยๆไปชมกันดูก่อนค่ะ

Leave a comment